ผู้ติดตาม

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประเมินผลงาน 100 คะเเนน

ขอให้เพื่อนๆ ครู ญาติ และผู้มีเกียรติทั้งหลายร่วมประเมินผลงาน โดยมีคะเเนนเต็ม 100 คะเเนน
  ขอขอบคุณทุกๆท่าน
     - เพื่อนประเมินเพื่อน จำนวน 5 คน
     - ส่วนญาติให้นักเรียนดำเนินการด้วยตนเองจำนวน 1 ท่าน

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สารชีวโมเลกุล ชุด9กับ10

1. http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic8/alcohol.html

2. http://www.kiwimark.co.nz/thai/factaboutlanolin.htm
l
3. http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/biochem_web/Lipid.htm

4. http://www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/Science/pansre002/section3_p02.html

5. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B5

6. http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5/

7. http://rnpong.tripod.com/vit_e.htm

8. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84

9. http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/nongkran_t/sec0p01.html

10. http://www.scumdoctor.com/Thai/medicine/vitamin-supplements/vitamin-k/Facts-About-Vitamin-K.html

สารชีวโมเลกุล ชุด 7กับ8

1. http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=81

2. http://siameseherb.com/showpro.php?pid=32

3. http://www.samunpai.com/diet/show.php?cat=3&id=45

4. http://www.vcharkarn.com/vcafe/93005
5. http://www.sinthaichem.com/forums/index.php?showtopic=7

6. http://www.chemistry.sc.chula.ac.th/Chem_Tutor/biomolecules.pdf

7. http://courseware.rmutl.ac.th/courses/103/unit603.html

8. http://variety.teenee.com/science/14869.html

9. http://www.ffcnulife.com/customize_0_14631_TH.html3

10. http://www.rbru.ac.th/courseware/science/4021107/lesson8.pdf

11. http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic8/ketone.html

12. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

13. http://www.vcharkarn.com/vcafe/112561

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

O-Net52 ข้อ 21-25

กรดไรโบนิวคลีอิก หรือ อาร์เอ็นเอ (Ribonucleic acid - RNA) เป็นพอลิเมอร์ของกรดนิวคลีอิกที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ (nucleotide) เชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ อาร์เอ็นเอนิวคลีโอไทด์ประกอบด้วยวงแหวนไรโบส (ribose) ซึ่งแตกต่างจากดีเอ็นเอที่ประกอบด้วยวงแหวนดีออกซีไรโบส (deoxyribose) อาร์เอ็นเอเกิดจากการคัดสำเนาข้อมูลจากดีเอ็นเอโดยเอนไซม์อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส แล้วเข้ากระบวนการต่อเนื่องโดยเอนไซม์อื่นๆ อีก อาร์เอ็นเอจะทำหน้าที่เหมือนแม่แบบสำหรับแปลข้อมูลจากยีน ไปเป็นข้อมูลในโปรตีน แล้วขนย้ายกรดอะมิโนเข้าไปในไรโบโซม (ribosome) เพื่อผลิตโปรตีน และแปลข้อความไปเป็นสำเนาข้อมูล (transcript) ในโปรตีน
  ข้าพเจ้าคิดว่าคำตอบคือข้อที่ 4
  ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD

คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate ) คือ สารอาหารที่ประกอบด้วยคาร์บอน ( C ) ไฮโดรเจน ( H ) และออกซิเจน ( O )

คาร์โบไฮเดรต ได้แก่ พวกแป้ง ข้าว น้ำตาล เผือก มัน ฯลฯ มี 2 ประเภท ดังนี้

1. น้ำตาล ได้แก่ คาร์โบไฮเดรตที่มีรสหวาน ละลายน้ำได้ ได้แก่ ก. น้ำตาลเชิงเดี่ยว ( Mono saccharide ) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลเล็ก คาร์โบไฮเดรตแต่ละชนิดมีสมบัติแตกต่างกัน คือ กลูโคสทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ได้เร็วกว่า ซูโครส แป้งไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ แต่ทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน ส่วยเซลลูโลสไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายทั้งสองชนิดนี้

อาหารที่นำมาทดสอบจะให้ผล ดังนี้
- เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง วุ้นเส้น กล้วยน้ำว้า ทดสอบโดยใช้สารละลายไอโอดีน ให้สีน้ำเงินแสดงว่า มีแป้ง - แบะแซ น้ำผึ้ง น้ำตาลกรวด กล้วยน้ำว้า ขนมปัง ( ถ้ามีรสหวาน ) ทดสอบโดยใช้สารละลายเบเนดิกต์ ถ้าเปลี่ยนสีของสารละลายจากฟ้าเป็นเขียว แล้วเหลืองในที่สุด ได้ตะกอนสีแดงส้ม แสดงว่ามีน้ำตาล
1. คาร์โบไฮเดรตต่างชนิดกันมีสมบัติต่างกัน

2. การทดสอบน้ำตาลใช้สารละลายเบเนดิกต์ คือ เปลี่ยนสีของสารละลายเบเนดิกต์จากสีฟ้าเป็นสีเขียวแล้วเหลือง ในที่สุดจะได้ตะกอนสีส้มแดง ตามลำดับ

3. แป้งไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ แต่ทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีนให้สีน้ำเงิน

4. เซลลูโลสไม่ทำปฏิกิริยาทั้งสารละลายเบเนดิกต์และสารละลายไอโอดีน

5. แป้งสามารถย่อยให้เป็นน้ำตาลได้ โดยการต้มกับกรดไฮโดรคลอริก

ในการแช่สารละลายของน้ำตาลซูโครสและน้ำแป้ง กับสารละลายเบเนดิกต์ในน้ำเดือด ให้แช่ไว้ภายในเวลาที่กำหนด ถ้าแช่นานเกินไป ซูโครสหรือน้ำแป้งบางส่วนจะถูกเบสในสารละลายเบเนดิกต์ทำให้แตกตัวเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว และเกิดปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ทำให้เกิดตะกอนสีส้มแดงเล็กน้อย

การต้มสารละลายกลูโคส ซูโครส แป้ง และ สำลี กับ กรดไฮโดรคลอริก เพื่อทำให้สารละลายเป็นกลางด้วยสารละลายโซเดียวไฮดรอกไซด ์ แล้วทดสอบด้วยสารละลายเบเนดิกต์ ปรากฏว่า น้ำตาลซูโครส และ น้ำแป้งมีตะกอนสีส้มแดงหรือสีแดงอิฐเกิดขึ้น แสดงว่ากรดไฮโดรคลอริกทำให้น้ำตาลซูโครสและแป้งแตกตัวเป็นน้ำตาลโมเลกลุเดี่ยวได้

   ข้าพเจ้าคิดว่าคำตอบคือ  ข้อ 4
   ที่มา http://www.suriyothai.ac.th/library/studentshow/st2545/4-5/no01-13/eat_3.htm
l
กรดไขมัน แบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ตามโครงสร้างทางชีวเคมี คือ
1.กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) จะมีอะตอมของคาร์บอนที่ต่อกันเป็นลูกโซ่ด้วยพันธะเดี่ยวเท่านั้น โดยที่แขนของคาร์บอนแต่ละตัวจะจับอะตอมของไฮโดรเจนเต็มไปหมด ไม่มีแขนว่างอยู่เลย

ไขมันชนิดนี้จะมีอยู่ในอาหารจำพวกที่ เราเห็นเป็นชั้นสีขาวติดอยู่ในเนื้อสัตว์ หรือหนังสัตว์ปีก ไข่แดง น้ำมันหมู เนย นม ผลิตภัณฑ์จากนม รวมถึงน้ำมันที่ได้จากพืชบางชนิดก็เป็นแหล่งไขมันอิ่มตัวด้วย เช่น กรดไขมัน พาลมิติก (palmitic) ที่มีมากในน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ในไขมันสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเนย กรดไขมันชนิดนี้จะมีสถานะอันเฉื่อยเนือยในกระบวนการเคมีของร่างกาย ถ้าไม่ถูกย่อยไปใช้เป็นพลังงานก็มีแนวโน้มที่จะตกตะกอนในหลอดเลือด ทำให้ไขมันในเลือดสูง เกิดความเสี่ยงที่จะอุดตันในหลอดเลือดได้ เป็นต้นเหตุของโรคความดันโลหิตสูง หัวใจและสมองขาดเลือด เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ

2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว(unsaturated fatty acid) จะมีอะตอมของคาร์บอนที่เรียงตัวกันเกิดมีบางตำแหน่งที่จับไฮโดรเจนไม่เต็มกำลังเกิดมีแขนคู่ (double bond) อยู่บางตำแหน่ง ทำให้มันมีความว่องไวในปฏิกิริยาทางเคมีพร้อมที่จะเปิดรับปฏิกิริยาต่าง ๆ ด้านหนึ่งก็เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย การบริโภคไขมันชนิดนี้ จะช่วยให้คอเลสเตอรอลในเลือดลดลงแต่อีกด้านหนึ่งก็พร้อมที่จะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกลายเป็นอนุมูลอิสระตัวก่อปัญหาทางสุขภาพ

ข้าพเจ้าคิดว่าคำตอบคือ ข้อ 1

ที่มา http://guru.sanook.com/answer/question/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7_%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0_%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7_%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/



กรดอะมิโนเป็นหน่วยทางเคมี หรือเป็นรูปแบบเพื่อนำไปสร้างโปรตีน โปรตีนไม่สามารถถูกสร้างหรือคงอยู่ได้โดยปราศจากการรวมตัวกันของกรดอะมิโน ฉะนั้นเพื่อให้เข้าใจว่ากรดอะมิโนนั้นสำคัญอย่างไร คุณต้องเข้าใจก่อนว่าโปรตีนนั้นสำคัญอย่างไรต่อการดำรงชีวิต

โปรตีนเป็นส่วนประกอบของทุกโครงสร้างและของทุกสิ่งมีชีวิต อวัยวะที่เล็กที่สุดจนถึงใหญ่ที่สุดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด จะประกอบด้วยโปรตีนในหลายรูปแบบ โปรตีนจึงเป็นส่วนประกอบทางเคมีที่จำเป็นที่ทำให้เราดำรงชีพอยู่ได้ ในร่างกายมนุษย์ โปรตีนเป็นตัวสร้างกล้ามเนื้อ ,กระดูก ,ผิวหนัง ,เลือด ,เอ็น ,อวัยวะ ,ต่อม ,ผม ,เล็บ ,เอนไซม์ ,ฮอร์โมน ,แอนติบอดี (ภูมิคุ้มกัน) และของเหลวต่างๆในร่างกาย (ยกเว้นน้ำดีและปัสสาวะ)

โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของกระดูก เอนไซม์ ฮอร์โมน และยีน ซึ่งนอกจากน้ำแล้ว โปรตีนก็เป็นส่วนประกอบหลักของร่างกายถึง 20% ของน้ำหนักตัว ฉะนั้นโปรตีน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อการมีร่างกายแข็งแรง และมีสุขภาพดี เพราะโปรตีนจะทำหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย ซ่อมแซมและบำรุงรักษา เพื่อยืดอายุเนื้อเยื่อของร่างกาย ส่วนอาหารอื่นๆเพียงทำหน้าที่สนับสนุนเท่านั้น โปรตีนจำเป็นสำหรับการสร้างกระดูก เซลล์เม็ดเลือดแดง และภูมิต้านทานโรค และทำหน้าที่เป็นตัวนำออกซิเจนไปใช้ในร่างกายอีกด้วย

เพื่อให้ได้โปรตีนที่สมบูรณ์ กรดอะมิโนเฉพาะอย่างจะต้องประกอบตัวกันได้ดี ซึ่งกรดอะมิโน สามารถเรียงต่อกันในรูปแบบต่างๆเป็นโปรตีนได้ถึง 50,000 ชนิดที่แตกต่างกัน และ 20,000 ชนิดเป็นเอนไซม์ โปรตีนแต่ละชนิดเกิดจากการประกอบกันของกรดอะมิโนที่แตกต่างกันจำนวนมาก เชื่อมต่อกันเพื่อนำมาใช้ตามความจำเป็นเฉพาะแบบ ซึ่งไม่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ และกรดอะมิโน มีส่วนประกอบของไนโตรเจนถึง 16% จึงแตกต่างจากคาร์โบไฮเดรต และไขมันในร่างกาย เมื่อรับประทานอาหารจำพวกโปรตีนเช่นเนื้อสัตว์ ร่างกายต้องย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโนอิสระ หรืออีกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กรดอะมิโนเดี่ยว (Amino Acid) ก่อนดูดซึมเข้าไปในเซลล์เพื่อสร้างโปรตีนที่ต้องการ

โปรตีนประกอบด้วยกรดอะมิโน 22 ชนิดในอัตราส่วนที่พอเหมาะพอดี คุณภาพของโปรตีนในอาหารขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของกรดอะมิโนที่มีอยู่ในโปรตีนนั้น อัตราส่วนของกรดอะมิโน ที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายมนุษย์ ได้แก่ น้ำนมมารดา (ให้คุณค่าสูงสุดเต็ม 100) ไข่ไก่ทั้งฟอง (94) นมวัว (85) เนื้อสัตว์ปีกและปลา (อยู่ระหว่าง 86 - 76) กรดอะมิโน 22 ชนิดที่เป็นที่รู้จัก ซึ่งจะประกอบกันเป็นโปรตีนอีกหลายร้อยหลายพันชนิดในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในร่างกายมนุษย์สามารถผลิตกรดอะมิโนได้ 80% ตามที่ร่างกายต้องการได้ โดยเมื่อร่างกายได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นอย่างครบถ้วน ซึ่งเราเรียกกรดอะมิโนที่ร่างกายผลิตเองได้นี้ว่า กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (Nonessential Amino Acids) ซึ่งได้แก่ Alanine ,Arginine ,Aspartic Acid ,Asparagine ,Cystine ,Glutamine ,Glycine ,Proline ,Serine and Tyrosine

ส่วนอีก 20% จะต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ซึ่งเรียกว่า อะมิโนที่จำเป็น (Essential Amino Acids) ซึ่งมีด้วยกัน 9 ชนิด ได้แก่ Histidine ,lsoleucine ,Leucine ,Lysine ,Methionine ,Phenylalanine ,Threonine Tryptophan and Valine กรดอะมิโนเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีอยู่ในอาหารจำพวกเนื้อวัว เนื้อไก่ ปลา นม เนย และไข่ มีคนไม่น้อยคิดว่าการรับประทานอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ก็จะได้โปรตีนอย่างครบถ้วน ข้อสันนิษฐานนี้ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะโปรตีนในอาหารจะสูญเสียไปเมื่อผ่านขบวนการต่างๆเช่น การใช้ความร้อน การแช่แข็ง การตากแห้ง การเพิ่มสารเคมีต่างๆ อาหารยิ่งผ่านกรรมวิธีการผลิตมาเท่าไรก็ยิ่งสูญเสียโปรตีนมากเท่านั้น

กรดอะมิโนส่วนใหญ่ (รวมทั้งไกลลีน) สามารถปรากฏในรูปแบบที่เป็นเหมือนภาพในกระจกของอีกอันหนึ่ง ที่เรียกว่า D - และ L - series เป็นกรดอะมิโนในรูปแบบธรรมชาติ ที่พบในสิ่งมีชีวิตต่างๆ ยกเว้น Phenylalanine กระบวนการประกอบของกรดอะมิโนเป็นโปรตีน หรือแยกโปรตีนเป็นกรดอะมิโนเดียวเพื่อถูกนำไปใช้ในร่างกาย เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง เมื่อเราต้องการโปรตีนเอนไซม์มากๆ ร่างกายจะผลิตโปรตีน เอนไซม์ เมื่อเราต้องการสร้างเซลล์ ร่างกายก็จะผลิตโปรตีนเพื่อสร้างเซลล์ ร่างกายจะผลิตโปรตีนต่างๆ ที่ร่างกายต้องการขึ้นมาจากกรดอะมิโนที่จำเป็น และร่างกายจะไม่สามารถผลิตโปรตีนต่างๆออกมาได้ หากขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นตัวใดตัวหนึ่งซึ่งนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพมากมาย

หากปราศจากกรดอะมิโน ระบบประสาทที่ทำหน้าที่เสมือนการส่งผ่านสัญญาณส่วนมากไม่สามารถทำหน้าที่ได้ (เป็นสิ่งสำคัญของสมอง เพื่อรับ - ส่งข้อมูล) ถ้าขาดกรดอะมิโน อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดในการส่งข้อมูลข่าวสาร การได้รับโปรตีนปริมาณสูงจะช่วยเพิ่มความว่องไวของสมองได้ชั่วคราว ในส่วนอื่นๆ สำหรับสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ กรดอะมิโนช่วยให้วิตามิน และเกลือแร่ ทำหน้าที่ได้สมบูรณ์เต็มที่ และช่วยให้ถูกดูดซึมไปใช้ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ

ข้าพเจ้าคิดว่าคำตอบคือ ข้อ 3

ที่มา: http://www.tuvayanon.net/2aminof.html


ดีเอ็นเอ (อังกฤษ: DNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, เชื้อรา, แบคทีเรีย, ไวรัส เป็นต้น ดีเอ็นเอบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน

ดีเอ็นเอมีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดลิงที่บิดตัว ขาของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) นิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาล, ฟอสเฟต (ซึ่งประกอบด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน) และเบส (หรือด่าง) นิวคลีโอไทด์มีอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (adenine, A) , ไทมีน (thymine, T) , ไซโทซีน (cytosine, C) และกัวนีน (guanine, G) ขาของบันไดสองข้างหรือนิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่ A จะเชื่อมกับ T และ C จะเชื่อมกับ G เท่านั้น (ในกรณีของดีเอ็นเอ) และข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสในดีเอ็นเอนั่นเอง

ผู้ค้นพบดีเอ็นเอ คือ ฟรีดริช มีเชอร์ ในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) แต่ไม่ทราบว่ามีโครงสร้างอย่างไร จนในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก เป็นผู้ไขความลับโครงสร้างของดีเอ็นเอ และนั่นนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ในประเทศไทย มีนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อ ดีเอ็นเอเขียนโดยวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์

ข้าพเจ้าคิดว่าคำตอบคือ ข้อ 2

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD